Paperless การลงทะเบียนผู้นำเข้าส่งออกทางอิเล็กทรอนิกส์

การส่งออก-นำเข้าสินค้าต่างๆในปัจจุบัน สามารถจัดส่งได้ง่ายดาย สะดวกสบาย และปลอดภัยมากยิ่งขึ้น เนื่องจากมีการนำบทบาทของเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆเข้ามาช่วยให้เกิดประโยชน์ ช่วยลดขั้นตอนที่ยุ่งยาก รวมถึงช่วยลดเวลาที่เสียไปอีกด้วย วันนี้ซีพีแอลจะมาแนะนำ Paperless หรือระบบจัดการลงทะเบียนเอกสารทางอิเล็กทรอนิกส์ที่ควรทำความรู้จักและทำความเข้าใจ ก่อนจัดส่งสินค้าต่างๆไปต่างประเทศ เรามาทำความรู้จักกับสิ่งนี้กันเถอะ

Paperless คืออะไร

     Paperless คือ ระบบที่กรมศุลกากรประกาศให้มีการเริ่มใช้งานอย่างเป็นทางการในวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ.2549 เพื่อให้การดำเนินการพิธีการศุลกากรเป็นไปแบบไร้เอกสาร ทำให้ขั้นตอนในการดำเนินการมีความสะดวกรวดเร็วมากยิ่งขึ้น โดยจะใช้กับการทำเอกสาร เช่น ใบขนสินค้าขาออก-ขาออก ใบเคลื่อนย้ายสินค้า(Goods Control List) การส่งข้อมูลรายงานเรือเข้า(E-Manifest) และส่งข้อมูลชำระภาษีขาเข้า(E-Payment) ซึ่งกลุ่มผู้ใช้งาน Paperless ได้แก่ ผู้ส่งออก-ผู้นำเข้าสินค้า ตัวแทนส่งออก ตัวแทนนำเข้า ชิปปิ้ง ผู้ให้บริการคีย์ใบขนสินค้า(Service Counter) โดยการจัดทำ Paperless จะมีขั้นตอนการตรวจสอบข้อมูล โดยกรมศุลกากรจะนำข้อมูลจากทางผู้นำเข้า และตัวแทนผู้นำเข้าไปตรวจสอบกับทาง Freight Forwarder หรือ Agent อีกครั้ง ก่อนที่จะอนุญาตให้ดำเนินการในขั้นตอนต่อไปได้


การลงทะเบียนผู้นำเข้าส่งออกทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ Paperless ทำได้อย่างไร

     ผู้ประกอบการที่ประสงค์จะดำเนินการทางศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์ จำเป็นต้องมาลงทะเบียนกับศุลกากร เพื่อเป็นฐานข้อมูลสำหรับการใช้งานระบบต่าง ๆ ของกรมศุลกากร ซึ่งจะเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในประกาศกรมศุลกากรที่ 94/2564 เรื่อง การลงทะเบียนผู้ปฏิบัติพิธีการศุลกากรหรือดำเนินการในกระบวนการทางศุลกากร โดยสามารถดำเนินการได้ 3 ช่องทาง ดังนี้

  1. ลงทะเบียนผ่านระบบลงทะเบียนผู้มาติดต่อออนไลน์ทางอินเทอร์เน็ต (Online Customs Registration) 
  2. ลงทะเบียนผ่านระบบลงทะเบียนผู้มาติดต่อออนไลน์ทาง Customs Trader Portal (เปิดให้บริการสำหรับผู้ลงทะเบียนบุคคลธรรมดา สัญชาติไทย ที่ยังไม่เคยลงทะเบียนกับกรมศุลกากรเท่านั้น)
  3. ลงทะเบียน ณ หน่วยบริการรับลงทะเบียนของกรมศุลกากร


สิ่งที่ต้องเตรียมในการจดทะเบียนผู้นำเข้าส่งออก Paperless

การจดทะเบียน Paperless สำหรับบุคคลธรรมดา

  1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือหนังสือเดินทาง (Passport)
  2. สำเนาบัญชีธนาคารออมทรัพย์ หรือกระแสรายวันหน้าแรก และหน้าเดินบัญชีที่แสดงรายการย้อนหลังไม่เกิน 6 เดือน
  3. หนังสือมอบอำนาจ (กรณีไปด้วยตัวเองไม่ได้)

การจดทะเบียน Paperless สำหรับนิติบุคคล

  1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือหนังสือเดินทาง(Passport) (หากมีการระบุจำนวนคนในหนังสือรับรองบริษัท จะต้องเตรียมมาให้ครบทุกคน)
  2. สำเนาบัญชีธนาคารออมทรัพย์ หรือกระแสรายวันหน้าแรก และหน้าเดินบัญชีที่แสดงรายการย้อนหลังไม่เกิน 6 เดือน
  3. สำเนา ภ.พ.20 
  4. สำเนาหนังสือรับรองบริษัท และวัตถุประสงค์ (ไม่เกิน 6 เดือน)
  5. สำเนา บอจ.3
  6. หนังสือมอบอำนาจ (กรณีไปด้วยตัวเองไม่ได้)

ขั้นตอนจดทะเบียนผู้นำเข้าส่งออก Paperless

  1. ผู้ลงทะเบียน ยื่นแบบคำขอ และหรือ แบบแนบพร้อมหลักฐานประกอบ
  2. เจ้าหน้าที่ผู้รับลงทะเบียน ตรวจสอบความถูกต้องแบบคำขอ และหรือ แบบแนบพร้อมหลักฐานประกอบ และออกใบตอบรับการลงทะเบียน
  3. เมื่อเอกสารครบถ้วน ผู้บังคับบัญชา จะเป็นผู้พิจารณาอนุญาตการลงทะเบียน
  4. เจ้าหน้าที่ผู้บันทึกข้อมูล บันทึกข้อมูลลงในระบบทะเบียนผู้มาติดต่อ (Customs Registration)
  5. เจ้าหน้าที่ผู้เก็บเอกสาร จัดทำสารบบและบันทึกเอกสารในระบบจัดการเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ (E-Document)

โดยขั้นตอนการจดทะเบียนผู้นำเข้าส่งออก Paperless จะใช้ระยะเวลาดำเนินการภายใน 30 นาที เริ่มนับเมื่อมีเอกสารครบถ้วนถูกต้อง

ประโยชน์จากการใช้ระบบ Paperless

  1. ลดเอกสาร และใบแนบต่างๆที่ใช้ในการเดินพิธีการศุลกากร
  2. ลดเวลา และอำนวยความสะดวกให้กับผู้ประกอบ เพราะสามารถลงลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ได้ หรือกรณีที่ตัวแทนไม่ต้องการจะลงลายเซ็นก็สามารถส่งข้อมูลใบขนไปให้ผู้ส่งออกเป็นผู้ลงลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ได้เช่นกัน
  3. ข้อมูลมีความปลอดภัยมากกว่าระบบเดิม เนื่องจากก่อนส่งข้อมูลทุกครั้งจะต้องมีการลงลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ก่อน และจะถูกเข้ารหัสไว้ มีเพียงกรมศุลกากรที่เดียวที่จะสามารถเปิดข้อมูลนั้นอ่านได้เท่านั้น


โดยสรุปแล้ว Paperless หรือการลงทะเบียนผู้นำเข้าส่งออกทางอิเล็กทรอนิกส์ เป็นการเดินพิธีการศุลกากรแบบไร้เอกสาร มีส่วนสำคัญในการช่วยให้การทำงานต่างๆ ทั้งสำหรับผู้นำเข้าหรือผู้ส่งออกง่าย สะดวกสบาย ประหยัดเวลามากยิ่งขึ้น ดังนั้นผู้นำเข้า-ส่งออกจึงควรเรียนรู้ และทำความเข้าใจกับ Paperless ก่อนจะจัดส่งสินค้าต่างๆ ซึ่งทางซีพีแอลมีบริการให้คำปรึกษาก่อนจัดส่งสินค้า ทั้งเรื่องสินค้า เรื่องเอกสาร และเรื่องต่างๆอีกมากมาย มาพร้อมกับบริการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศทางเครื่องบิน ทางเรือ และทางรถ เพื่อให้ลูกค้าสามารถเลือกใช้บริการได้ตามความต้องการ ซีพีแอลยินดีให้บริการลูกค้าทุกท่านด้วยใจ สำหรับผู้ที่สนใจส่งออก-นำเข้าสินค้า สามารถติดต่อสอบถามซีพีแอล โทร 02-519-4426, 063-519-4426, 091-519-4426 Line @cplinter หรือสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.cplinter.com ได้เลยนะคะ

รายการ WHAT IS

EP.44 : Paperless

         การลงทะเบียนผู้นำเข้าส่งออกทางอิเล็กทรอนิกส์ “Paperless” คืออะไร ผู้ที่กำลังวางแผนนำเข้า-ส่งออกสินค้า ควรจะต้องทำความรู้จักและทำความเข้าใจสิ่งนี้ก่อนที่จะมีการจัดส่งสินค้าต่างๆ เพื่อให้เกิดความสะดวกสบาย และไม่พลาดผลประโยน์ต่างๆไป ซึ่งเราได้รวบรวทลมเกร็ดความรู้ต่างๆมาฝากกัน รับชมกันเลย

EP.45 : การลงทะเบียนPaperless

      ขั้นตอนในการลงทะเบียนผู้ส่งออก-นำเข้าสินค้า เป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ส่งสินค้าระหว่างประเทศ จำเป็นจะทำปฏิบัติก่อนส่งออก-นำเข้า ซึ่งมีขั้นตอนอย่างไร และจะต้องจัดเตรียมเอกสารอะไรบ้าง ติดตามชมได้ในคลิปเลย

สนใจส่งออกสินค้าไปต่างประเทศ

เพื่อให้การส่งของท่านเป็นไปอย่างราบรื่นสามารถนำรายละเอียดสินค้าที่ต้องการจะส่งมาให้เราช่วย ตรวจสอบก่อน

กรุณากรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ

แชทคุยโดยตรงได้ที่
LINE ID : @cplinter