มารู้จัก Incoterms กันเถอะ

ในโลกของเราเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากมาย ทั้งเรื่องของการดำรงชีวิต ทั้งเรื่องการเป็นอยู่ ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนต้องมีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องของการขนส่งทั้งสิ้น ซึ่งการขนส่งนั้นต่างก็มีกฎระเบียบ เงื่อนไขและข้อบังคับที่แตกต่างกันไปตามรู้แบบที่เหมาะสม ซึ่งเราจำเป็นที่จะต้องปฏิบัติตาม หากใครคิดจะส่งของไปต่างประเทศ นอกจากเรื่อง ประเภทของสินค้า ประเทศที่ต้องการจัดส่ง และเงื่อนไขและข้อห้ามต่างๆที่ควรรู้แล้ว ยังมีเรื่องของเงื่อนไขและข้อตกลงทางการค้าในการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศอีกด้วย ซึ่งวันนี้ CPLINTER จะชวนมาทำความรู้จักกับเงื่อนไขเหล่านั้นกัน  

Incoterms คืออะไร

International Commercial Terms (Incoterms) หรือ ข้อตกลงการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นเงื่อนไขหรือข้อกำหนดในการส่งมอบสินค้า เพื่อลดปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากความขัดแย้งระหว่างผู้ซื้อ(ผู้นำเข้า) กับผู้ขาย(ผู้ส่งออก) ในเรื่องของขอบเขตความรับผิดชอบเรื่องค่าใช้จ่าย และความเสี่ยงต่างๆที่ไม่ชัดเจน โดยจะมีการกำหนดขึ้นก่อนการส่งมอบสินค้าให้แก่กันนั้นเอง  

Incoterms มีองค์ประกอบหลักอะไรบ้าง

องค์ประกอบที่สำคัญของ Incoterms นั้นประกอบด้วย 4 องค์ประกอบหลัก คือ ผู้ซื้อหรือผู้นำเข้า (Importer) ผู้ขายหรือผู้ส่งออก (Exporter) ค่าใช้จ่าย (Costs) และความเสี่ยงต่างๆ (Risks)

Incoterms มีองค์ประกอบหลักข้อที่ 1 คือ

ผู้ซื้อหรือผู้นำเข้า (Importer) คือ ผู้รับสินค้าที่ส่งจากประเทศปลายทาง

Incoterms มีองค์ประกอบหลักข้อที่ 2 คือ

ผู้ขายหรือผู้ส่งออก (Exporter) คือ ผู้ส่งสินค้าออกจากประเทศต้นทาง

Incoterms มีองค์ประกอบหลักข้อที่ 3 คือ

ค่าใช้จ่าย (Costs) คือ ค่าใช้จ่ายต่างที่เกิดขึ้นในการขนส่งสินค้าจากประเทศต้นทางยังประเทศปลายทาง เช่น ค่าส่งสินค้าที่ประเทศต้นทาง ค่าส่งสินค้าที่ประเทศปลายทาง ค่าส่งสินค้าระหว่างประเทศ ค่าศุลกากรขาเข้า-ขาออก ค่าประกันสินค้า เป็นต้น

Incoterms มีองค์ประกอบหลักข้อที่ 4 คือ

ความเสี่ยงต่างๆ (Risks) คือ การรับผิดชอบในความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น หรือการรับผิดชอบในตัวสินค้า  

Incoterms มีกี่ประเภท 

ในการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศจะสามารถแบ่งออกได้เป็น 11 ประเภท ดังต่อไปนี้

Incoterms ประเภทที่ 1 : EXW (Ex Works)

ผู้ขายจะรับผิดชอบจัดเตรียมสินค้าเพื่อส่งมอบให้กับผู้ซื้อ ณ สถานที่ของผู้ขายเอง โดยผู้ซื้อต้องมารับสินค้าเองที่สถานที่ของผู้ขายและจะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายต่าง ๆ และความเสี่ยงในการขนส่งสินค้าไปยังจุดส่งมอบปลายทาง

Incoterms ประเภทที่ 2 : FCA (Free Carrier) 

ผู้ขายจะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการส่งมอบสินค้าถึงแค่ผู้ขนส่งที่ผู้ซื้อเป็นผู้กำหนด  หลังจากนั้น สินค้าที่อยู่ระหว่างการขนส่งไปยังปลายทางและความเสี่ยงต่างๆจะตกเป็นของผู้ซื้อ  ดังนั้น ราคาสินค้าจะรวมค่าส่งสินค้าไปแล้ว

Incoterms ประเภทที่ 3 : FAS (Free Alongside Ship) 

ผู้ขายจะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการนำสินค้าไปยังกาบเรือของท่าเรือต้นทางเท่านั้น  หลังจากนั้นค่าใช้จ่ายทั้งหมดตั้งแต่การนำของขึ้นเรือ การทำพิธีการส่งออก การขนส่งสินค้า รวมถึงความเสี่ยงต่างๆนั้นตกเป็นของผู้ซื้อทันทีที่สินค้าถูกส่งมอบไปยังกาบเรือ

Incoterms ประเภทที่ 4 : FOB (Free On Board)

ผู้ขายจะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายจนกระทั่งสินค้าถูกขนขึ้นไปบนเรือท่าเรือต้นทาง หรือเครื่องบิน และผู้ขายยังต้องรับภาระทำพิธีการส่งออกด้วย หลังจากนั้นเมื่อของออกเดินทางไปยังปลายทางค่าใช้จ่ายอื่นๆ และความเสี่ยงจะตกเป็นของผู้ซื้อ

Incoterms ประเภทที่ 5 : CFR (Cost and Freight)

ผู้ขายจะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายจนกระทั่งสินค้าถึงบนเรือท่าเรือต้นทาง หรือเครื่องบิน โดยเสียค่าพิธีการส่งออก ค่าขนส่งสินค้า ส่วนค่าใช้จ่ายอื่นๆตั้งแต่สินค้าออกเดินทางไปยังปลายทาง เช่น ค่าประกันภัยขนส่งสินค้า และความเสี่ยงอื่นๆจะตกเป็นของผู้ซื้อ

Incoterms ประเภทที่ 6 : CIF (Cost, Insurance & Freight)

ผู้ขายจะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายตั้งแต่ส่งมอบสินค้าไปบนเรือ โดยเสียค่าขนส่งสินค้า ค่าประกันภัยจนถึงบนเรือสินค้า ค่าพิธีการส่งออก ไปจนถึงท่าเรือปลายทาง

Incoterms ประเภทที่ 7 : CPT (Carriage Paid To) 

ผู้ขายจะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายจนถึงปลายทางที่บริษัทขนส่งมารับของ ซึ่งผู้ขายเป็นผู้กำหนด โดยทำพิธีการส่งออก ค่าขนส่งสินค้า  ส่วนค่าใช้จ่ายอื่น ๆ รวมทั้งความเสี่ยงในการขนส่งเป็นภาระของผู้ซื้อเมื่อสินค้าถูกส่งมอบให้กับผู้ขนส่งที่ต้นทาง

Incoterms ประเภทที่ 8 : CIP (Carriage and Insurance Paid To) 

ผู้ขายจะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายจนถึงปลายทางที่บริษัทขนส่งมารับของ โดยทำพิธีการส่งออก ค่าขนส่งสินค้า  ค่าประกันภัยสินค้า แต่ความเสี่ยงในการขนส่งเป็นของผู้ซื้อเมื่อสินค้าถูกส่งมอบให้กับผู้ขนส่งที่ต้นทาง

Incoterms ประเภทที่ 9 : DAT (Delivered At Terminal) 

ผู้ขายทำการส่งมอบสินค้า โดยรับผิดชอบทั้งค่าใช้จ่ายและความเสี่ยงทั้งหมดไปจนถึงการขนถ่ายสินค้าลงจากยานพาหนะไปยังอาคารขนถ่ายสินค้าปลายทางที่ระบุไว้

Incoterms ประเภทที่ 10 : DAP (Delivered At Place) 

ผู้ขายจะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายต่างๆทั้งหมด  ยกเว้นภาษีนำเข้า และรับความเสี่ยงในการขนส่งสินค้าจนสินค้าถึงมือผู้รับปลายทาง

Incoterms ประเภทที่ 11 : DDP (Delivered Duty Paid)

ผู้ขายทำการส่งมอบสินค้าไปจนถึงสถานที่ปลายทาง โดยผู้ขายรับผิดชอบการทำพิธีการส่งออก ค่าขนส่งสินค้า  ค่าประกันภัยสินค้า การนำของลงจากเรือ ดำเนินพิธีการนำเข้า และชำระภาษีนำเข้าแทนผู้ซื้อ และชำระค่าขนส่งสินค้าไปยังสถานที่ที่ผู้ซื้อระบุไว้  พบใน Market Place   โดยสรุปแล้ว Incoterms มีทั้งหมด 11 ประเภท ซึ่งขอบเขตความรับผิดชอบเรื่องของค่าใช้จ่ายและความเสี่ยงต่างๆจะแตกต่างกันออกไปตามประเภทที่กำหนด ซึ่งเป็นประโยชน์มากๆสำหรับใครที่คิดหรือกำลังจะทำการส่งออกสินค้าหรือนำเข้าสินค้า ทั้งในฐานะผู้ซื้อหรือผู้ขาย และสำหรับใครที่สนใจที่จะส่งของไปต่างประเทศ สามารถปรึกษา CPLINTER ได้เลยนะคะ เรามีบริการที่ครบวงจรและหลายหลาก ให้เหมาะกับความต้องการลูกค้าแต่ละท่านมากที่สุด พร้อมบริการรับสินค้า บรรจุสินค้า จัดเตรียมเอกสารและเดินพิธีการขาเข้าและขาออกให้ สอบถามซีพีแอล โทร 02-519-4426, 063-519-4426, 091-519-4426 Line @cplinter หรือสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.cplinter.com ได้เลยค่ะ  

รายการ WHAT IS

EP.9 : INCOTERMS ในการส่งสินค้า

      ในการส่งของไปต่างประเทศ จะมีบุคคลที่เกี่ยวข้องได้แก่ ผู้ส่งออก และผู้นำเข้า แต่จะรู้ได้ไงว่า ใครต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่าย และสินค้าอย่างไรบ้าง จึงมีสิ่งนึงเข้ามามีบทบาทมากๆ ในการแบ่งความรับผิดชอบต่างๆ หากอยากรู้ว่าคืออะไร ในคลิปนี้มีคำตอบในคุณ

สนใจส่งสินค้าไปต่างประเทศ

เพื่อให้การส่งของท่านเป็นไปอย่างราบรื่นสามารถนำรายละเอียดสินค้าที่ต้องการจะส่งมาให้เราช่วย ตรวจสอบก่อน

กรุณากรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ

แชทคุยโดยตรงได้ที่
LINE ID : @cplinter