วัคซีนโควิด 19 และความท้าทายด้านโลจิสติกส์

         การคิดค้นวัคซีนโควิด 19 สำเร็จภายในระยะเวลาไม่ถึง 1 ปี ถือได้ว่าเป็น ก้าวสำคัญของมวลมนุษยชาติที่จะหลุดพ้นไปจากวิกฤตการณ์ในครั้งนี้ แต่ทว่าการคิดค้นวัคซีนได้สำเร็จยังไม่ใช่จุดจบของเรื่องทั้งหมด โดยปัญหาที่ตามมาหลังจากการคิดค้นและผลิตวัคซีนคือ การแจกจ่ายวัคซีนนั่นเอง ด้วยเงื่อนไขที่ซับซ้อน และปริมาณอันมหาศาลส่งผลให้เกิดเป็นอีกหนึ่งความท้าทายที่แวดวงโลจิสติกส์จะต้องรับมือ

ในวันนี้ CPLINTER จึงอยากชวนทุกคนมาทำความเข้าใจถึงปัญหาและการเตรียมการรับมือการขนส่งวัคซีนโควิด 19 ของบริษัทโลจิสติกส์จากทั่วโลกกัน

 

วัคซีนโควิด 19 และความท้าทายด้านการเก็บรักษา

          โดยปกติ บริษัทขนส่งขนาดใหญ่จะมีระบบควบคุมอุณหภูมิสำหรับการส่งอาหารสดและเวชภัณฑ์ต่างๆเพื่อรักษาประสิทธิภาพของสินค้าอยู่แล้ว แต่ในกรณีของวัคซีนโควิด 19 นั้นมีความท้าทายที่แตกต่างออกไปจากการขนส่งแบบควบคุมอุณหภูมิโดยทั่วไปๆ เนื่องจากปริมาณที่ต้องขนส่งนั้นมีปริมาณมหาศาลกว่าปกติหลายเท่าตัว และยังต้องมีการฉีด 2 รอบ ซึ่งหมายความว่า จะต้องมีวัคซีนเป็นจำนวน 2 เท่าของผู้คนบนโลก หรือประมาณ 12,000 ล้านโดส โดยที่ทั้งหมดจะต้องถูกเก็บและขนส่งในระบบควบคุมอุณหภูมิโดยเฉพาะตลอดเวลา ทั้งสถานที่จัดเก็บ พาหนะในการขนส่ง บรรจุภัณฑ์ รวมไปถึงสถานพยาบาลที่จะเป็นผู้ดำเนินการการฉีดวัคซีน ซึ่งปัญหาเหล่านี้ยิ่งมีความซับซ้อนมากขึ้นไปอีกในประเทศที่กำลังพัฒนาที่ขาดความพร้อมในด้านเครื่องมือ นอกจากนี้ วัคซีนของบริษัท Pfizer ยังจำเป็นที่จะต้องเก็บรักษาในอุณหภูมิที่ต่ำถึง – 70℃ ซึ่งถือว่า ต่ำกว่าระดับอุณหภูมิที่ระบบควบคุมอุณหภูมิโดยทั่วไปสามารถทำได้อย่างมาก และยังมีข้อจำกัดในเรื่องอายุการเก็บรักษาของวัคซีนซึ่งส่งผลให้ต้องมีการคำนวณปริมาณโดสที่จะต้องใช้ในแต่ละวันให้แม่นยำเพื่อให้สามารถกระจายวัคซีนให้มากที่สุด โดยไม่ให้วัคซีนเสื่อมประสิทธิภาพ

วัคซีนโควิด 19 และความท้าทายด้านการขนส่ง

            นอกเหนือไปจากการเก็บรักษาแล้ว การขนส่งวัคซีนโควิด 19 ก็นับเป็นปัจจัยที่สำคัญอีกอย่างหนึ่ง ถึงแม้ว่า ระบบการขนส่งในยุคปัจจุบันจะได้รับการพัฒนาขึ้นอย่างมากจากการเติบโตของการค้าออนไลน์ ผนวกกับปริมาณการขนส่งเวชภัณฑ์ที่เป็นที่ต้องการสูงอย่างหน้ากากอนามัย แต่ถึงอย่างไรก็ยังไม่เพียงพอกับปริมาณของวัคซีนและความยุ่งยากในการเก็บรักษาระหว่างการขนส่ง นอกจากนี้ยังมีปัจจุยอื่นๆอย่างเช่น การที่สายการบินต่างๆลดปริมาณเครื่องบินลงเพื่อลดต้นทุน และปริมาณความต้องการสินค้าออนไลน์ที่เพิ่มขึ้นอย่างไม่หยุดยั้งซึ่งทำให้เกิดการขาดแคลนพาหนะและกำลังคนที่ใช้ในการจัดส่ง เป็นต้น 

การเตรียมความพร้อมการขนส่งวัคซีนโควิด 19 

            ถึงแม้จะมีอุปสรรคหลายอย่าง แต่บริษัทขนส่งทั่วโลกก็ไม่รอช้าที่จะปรับเปลี่ยนและพัฒนาทรัพยากรของตัวเองหลายอย่างเพื่อให้การขนส่งโควิด 19 เป็นไปได้อย่างราบรื่น อย่างเช่น UPS ที่สร้างสถานที่เก็บวัคซีนโดยเฉพาะขึ้นมา 2 แห่ง ซึ่งสามารถเก็บวัคซีนได้ถึง 48,000 อัน ต่อแห่ง พร้อมทั้งยังสามารถลดอุณหภูมิลงได้ต่ำสุดถึง – 80℃ หรือ FedEx ที่ทำการเสริมประสิทธิภาพคลังสินค้าหลายแห่งด้วยตู้เก็บความเย็นเพื่อการเก็บวัคซีนโควิด 19 โดยเฉพาะ อีกทั้งยังมีการติดตั้งระบบตรวจวัดอุณหภูมิ ความชื้น และแสงสว่าง เพื่อให้แน่ใจว่า วัคซีนจะอยู่ในสภาพที่ดีตลอดกระบวนการ เป็นต้น

             ท่านใดสนใจบริการด้านโลจิสติกส์ CPLINTER พร้อมให้บริการโลจิสติกส์แบบครบวงจรแบบ Door To Door ทั้งบริการส่งของไปต่างประเทศทางเครื่องบิน บริการส่งของไปต่างประเทศทางรถ บริการส่งของไปต่างประเทศทางเรือ บริการบรรจุสินค้า เตรียมเอกสารสำหรับส่งออก เดินพิธีการขาเข้าและขาออก สนใจส่งออกสินค้าไปต่างประเทศ สอบถามซีพีแอล โทร 02-519-4426, 063-519-4426, 091-519-4426 Line @cplinter หรือสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.cplinter.com ได้เลยค่ะ

สนใจส่งสินค้าไปต่างประเทศ

เพื่อให้การส่งของท่านเป็นไปอย่างราบรื่นสามารถนำรายละเอียดสินค้าที่ต้องการจะส่งมาให้เราช่วย ตรวจสอบก่อน

กรุณากรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ

แชทคุยโดยตรงได้ที่
LINE ID : @cplinter