รวมเว็บไซต์น่ารู้ เตรียมพร้อมส่งสินค้าไปต่างประเทศ

เว็บไซต์ต่างๆเหล่านี้ รวบรวมข้อมูลสำหรับเตรียมความพร้อมก่อนจัดส่งสินค้าไปต่างประเทศ ทั้งข้อมูลเกี่ยวกับสินค้า ภาษี ศุลกากร ข่าวสารต่างๆแบบเรียลไทม์ บทวิเคราะห์หรือบทความที่น่าสนใจ รวมถึงฟอร์มเอกสารที่ต้องใช้ในการส่งออกสินค้าไปยังต่างประเทศอีกด้วย

Continue reading

การขนส่งทางเรือ Sea Freight (LCL)

     ถ้าพูดถึง การขนส่งทางเรือ หรือการขนส่งทางทะเล ที่สามารถขนส่งได้ครอบคลุมหลากหลายประเทศ โดยเฉพาะประเทศที่มีดินแดนติดกับชายฝั่งทะเลหรือเป็นเมืองท่า ทำให้การขนส่งทางเรือเป็นการขนส่งที่หลายๆธุรกิจนิยมเลือกใช้ในการขนส่งระหว่างประเทศ เพื่อให้การดำเนินธุรกิจคุ้มค่า และบริหารค่าใช้จ่ายให้มีประสิทธิภาพมากที่สุดแล้วนั้น การขนส่งทางเรือแบบ Sea Freight (LCL) ก็อาจจะเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจ เพื่อใช้ในการเลือกพิจารณาการขนส่งที่เหมาะสมที่สุด ซึ่งวันนี้ซีพีแอลจะมาอธิบายสาระน่ารู้เกี่ยวกับการขนส่งทางเรือแบบ Sea Freight (LCL) กัน

 

Sea Freight (LCL) คืออะไร

     โดยปกติแล้วอย่างที่ทุกคนทราบกันว่าการขนส่งทางเรือ จะต้องมีการรวบรวมและบรรจุสินค้าต่างๆไว้ภายในตู้คอนเทนเนอร์ เพื่อให้สะดวกต่อการเคลื่อนย้ายเข้าสู่เรือบรรทุกสินค้า ซึ่งในกรณีนี้ การขนส่งทางเรือแบบไม่เต็มตู้คอนเทนเนอร์หรือ Less than Container Load (LCL) จะเป็นการขนส่งโดยร่วมใช้ตู้คอนเทนเนอร์กับเจ้าอื่น แสดงว่าภายในตู้คอนเทนเนอร์ 1 ตู้ จะมีสินค้าของหลากหลายเจ้ามารวมกัน 

 

Sea Freight (LCL) เหมาะกับสินค้าแบบไหนบ้าง

     สินค้าที่เหมาะสำหรับการจัดส่งทางเรือแบบไม่เต็มตู้ เหมาะสำหรับสินค้าขนาดใหญ่ น้ำหนักมาก (มากกว่า 1 CBM ขึ้นไป) แต่ปริมาณไม่มากกว่าความจุของตู้คอนเทนเนอร์ (น้อยกว่า 15 CBM) ขึ้นไป) เหมาะสำหรับสินค้าที่ไม่รีบเร่ง ไม่มีอายุการเก็บรักษา เนื่องจากเป็นการขนส่งที่อาจจะต้องใช้ระยะเวลานานกว่าการขนส่งแบบอื่นๆ และสามารถจัดส่งสินค้าได้ทุกประเภท

 

Sea Freight (LCL) มีระยะเวลาในการจัดส่งอย่างไร

     การขนส่งทางเรือเป็นการขนส่งที่จะต้องใช้ระยะเวลาในการจัดส่งค่อนข้างนาน เมื่อเทียบกับการขนส่งชนิดอื่น ตัวอย่างเช่น ประเทศในเอเชีย ใช้ระยะเวลาประมาณ 5-15 วัน ประเทศในทวีปโอเชียเนีย ตะวันออกกลาง ยุโรป และอเมริกา จะใช้ระยะเวลาประมาณ 20-45 วัน ทั้งนี้ยังไม่รวมถึงเวลาที่ใช้ในการตรวจปล่อยจากศุลกากรปลายทางอีกด้วย

 

Sea Freight (LCL) วิธีการคำนวณราคาค่าขนส่ง

     คำนวนค่าขนส่งจากน้ำหนักที่คิดเป็น CBM (คิวบิกเมตร)
โดยใช้สูตร Width x Length x Height (Meter)

 

     การขนส่งทางเรือ แบบ Sea Freight (LCL) หรือการขนส่งแบบไม่เต็มตู้คอนเทนเนอร์ เป็นสาระน่ารู้ที่วันนี้เรานำมาฝากทุกคนกัน ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับผู้ที่สนใจส่งสินค้า หรือกำลังมีแพลนขยายธุรกิจไปที่ต่างแดน เพื่อให้สามารถนำไปประกอบการตัดสินใจ ว่าเราควรจะขนส่งแบบไหนที่เหมาะสมกับสินค้าที่มี และแบบไหนที่คุ้มค่ามากกว่ากัน ส่วนสำหรับเรื่องของการส่งออก-นำเข้าสินค้าไม่ว่าจะเป็นทางเครื่องบิน ทางเรือ หรือทางรถ CPLINTER ยินดีให้คำปรึกษาทุกการขนส่ง ติดต่อสอบถามซีพีแอลเพิ่มเติมได้ที่ เบอร์โทร 02-519-4426, 063-519-4426, 091-519-4426 Line @cplinter หรือศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.cplinter.com และฝากติดตามสาระน่ารู้จากรายการของเรา CPL What is ด้วยนะคะ

การขนส่งทางเรือ Sea Freight (FCL)

    การขนส่งทางเรือ Sea Freight (FCL) อีกหนึ่งการขนส่งที่ผู้ประกอบการ พ่อค้าแม่ค้าเลือกใช้ขนส่งอย่างมาก คือการขนส่งทางเรือ ซึ่ง สามารถรองรับสินค้าได้มากกว่าการขนส่งชนิดอื่นๆ มีข้อจำกัดในการจัดส่งสินค้าน้อยกว่า ยิ่งส่งของจำนวนมาก และต้องการความปลอดภัย หรือ ความเป็นส่วนตัวสูง การขนส่งทางเรือแบบ Sea Freight (FCL) ยิ่งตอบโจทย์ ผู้ที่มีแพลนส่งออก-นำเข้าสินค้า ควรที่จะทำความเข้าใจ และ ศึกษาให้ดีก่อน เพื่อให้การดำเนินงานเกี่ยวกับการขนส่งระหว่างประเทศคุ้มค่าที่สุดอีกด้วย 

 

Sea Freight (FCL) คืออะไร

    การขนส่งทางเรือ Sea Freight (FCL)

Sea Freight (FCL) หมายถึง “Full Container Load” เป็นหนึ่งในวิธีการขนส่งสินค้าทางทะเล ซึ่งใช้คอนเทนเนอร์ในการขนส่งสินค้า แต่ในกรณีนี้คอนเทนเนอร์จะเต็มไปด้วยสินค้าจนกระทั่งเต็มความจุ สินค้า ซึ่งในคอนเทนเนอร์เดียวกันนั้นมักจะมีต้นทุนการขนส่ง และ การประหยัดเวลาที่ดีกว่า หรือเรียกว่าเป็นการขนส่งโดยการเหมาตู้คอนเทนเนอร์ แสดงว่าภายในตู้คอนเทนเนอร์ จะมีเจ้าของสินค้าเพียงเจ้าเดียว และจะไม่มีสินค้าจากลูกค้าอื่น ๆ ถูกนำเข้าไปในคอนเทนเนอร์เดียวกัน

 

 

Sea Freight (FCL) เหมาะกับสินค้าแบบไหนบ้าง

    การใช้งาน Sea Freight (FCL) เหมาะสำหรับการขนส่งสินค้าปริมาณมาก หรือสินค้าที่ต้องการความปลอดภัยและการควบคุมต่อการจัดส่ง นอกจากนี้ยังช่วยลดต้นทุนในการขนส่ง สินค้าที่เหมาะสำหรับการจัดส่งการขนส่งทางเรือ แบบเต็มตู้ เหมาะสำหรับสินค้าขนาดใหญ่ น้ำหนัก และ ปริมาณมาก (มากกว่า 15 CBM ขึ้นไป) สำหรับการบรรจุภายในตู้คอนเทนเนอร์ ซึ่ง จะมีตู้คอนเทนเนอร์หลากหลายขนาด ซึ่ง ขนาดตู้ที่มีการใช้โดยมาตรฐาน ได้แก่ ขนาด 20’ ขนาด 40’ และขนาด 40’HQ เหมาะสำหรับสินค้าที่ไม่รีบเร่ง ไม่มีอายุการเก็บรักษา เนื่องจากเป็นการขนส่งที่อาจจะต้องใช้ระยะเวลานานกว่าการขนส่งแบบอื่นๆ และสามารถจัดส่งสินค้าได้ทุกประเภท

 

Sea Freight (FCL) มีระยะเวลาในการจัดส่งอย่างไร

     การขนส่งทางเรือเป็นการขนส่งที่จะต้องใช้ระยะเวลาในการจัดส่งค่อนข้างนาน เมื่อเทียบกับการขนส่งชนิดอื่น ตัวอย่างเช่น ประเทศในเอเชีย ใช้ระยะเวลาประมาณ 5-15 วัน ประเทศในทวีปโอเชียเนีย ตะวันออกกลาง ยุโรป และอเมริกา จะใช้ระยะเวลาประมาณ 20-45 วัน ทั้งนี้ยังไม่รวมถึงเวลาที่ใช้ในการตรวจปล่อยจากศุลกากรปลายทางอีกด้วย

 

Sea Freight (FCL) วิธีการคำนวณราคาค่าขนส่ง

คำนวนค่าขนส่งตามขนาดตู้คอนเทนเนอร์ ได้แก่
– ขนาด 20’ : 2.3 x 5.9 x 2.3 m
– ขนาด 40’ : 2.3 x 12 x 2.3 m
– ขนาด 40’HQ : 2.3 x 12 x 2.6 m

   การ ขนส่งทางเรือ แบบ Sea Freight (FCL) หรือการขนส่งแบบไม่เต็มตู้คอนเทนเนอร์ เป็นสาระน่ารู้ที่วันนี้เรานำมาฝากทุกคนกัน ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับผู้ที่สนใจส่งสินค้า หรือกำลังมีแพลนขยายธุรกิจไปที่ต่างแดน เพื่อให้สามารถนำไปประกอบการตัดสินใจ ว่าเราควรจะขนส่งแบบไหนที่เหมาะสมกับสินค้าที่มี และแบบไหนที่คุ้มค่ามากกว่ากัน ส่วนสำหรับเรื่องของการส่งออก-นำเข้าสินค้าไม่ว่าจะเป็นทางเครื่องบิน ทางเรือ หรือทางรถ CPLINTER ยินดีให้คำปรึกษาทุกการขนส่ง ติดต่อสอบถามซีพีแอลเพิ่มเติมได้ที่ เบอร์โทร 02-519-4426, 063-519-4426, 091-519-4426 Line @cplinter หรือศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.cplinter.com และฝากติดตามสาระน่ารู้จากรายการของเรา CPL What is ด้วยนะคะ

     

การขนส่งทางเครื่องบินAir Courier

ในการส่งออก-นำเข้าสินค้า ช่องทางการขนส่งสินค้าไปต่างประเทศทางเครื่องบินประเภท Air Courier เป็นทางเลือกในการขนส่งที่หลายคนเลือกใช้

Continue reading

การขนส่งทางเครื่องบินAir Cargo

การขนส่งทางเครื่องบินAir Cargo ทางเลือกในการขนส่งสินค้าไปต่างประเทศที่ขนส่งสินค้าถึงท่าอากาศยาน หรือท่าเรือปลายทาง(Door to Port)

Continue reading

สรุปขั้นตอนส่งออก เตรียมพร้อมก่อนส่งของไปต่างประเทศ

การส่งออกสินค้าไปต่างประเทศ หากมีการเตรียมพร้อมให้ดี มีความเข้าใจในขั้นตอนส่งออกสินค้าไปต่างประเทศ ย่อมทำให้การดำเนินงานต่างๆ สะดวก รวดเร็ว และสามารถแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างง่ายดายมากยิ่งขึ้น ซึ่งการที่ผู้ส่งออกเข้าใจในขั้นตอนการส่งออกสินค้า เปรียบเสมือนการมองเห็นภาพรวมต่างๆในการขนส่งนั้นๆอีกด้วย

Continue reading

CPL WHAT IS EP.57: ค่าเงินบาท และการส่งออก-นำเข้าสินค้า

ความผันผวนไม่แน่นอนของค่าเงินบาทในปัจจุบัน เกิดจากความต้องการตลาดที่มีการปรับเปลี่ยนตามกลไกต่างๆ เกิดการแข็งค่า-อ่อนค่าของสกุลเงิน และย่อมทำให้เกิดทั้งผู้ได้ประโยชน์และผู้เสียประโยชน์ในเวลาเดียวกัน

Continue reading

CPL WHAT IS EP.56: ประเภทคลังสินค้า

 คลังสินค้ามีมากมายหลายประเภท ซึ่งเจ้าของธุรกิจหรือผู้ประกอบการ ควรที่จะศึกษาและทำความเข้าใจ เพื่อจัดสรรเลือกใช้คลังให้เหมาะสมกับสินค้าของตนเอง

Continue reading

CPL WHAT IS EP.55: Letter of Credit หรือL/C

การส่งออก-นำเข้าสินค้าระหว่างประเทศ Letter of Credit หรือL/C เปรียบเสมือนตัวกลางเพื่อสร้างความเชื่อมั่น และความสบายใจให้กับผู้ซื้อและผู้ขาย เพื่อลดความเสี่ยงและความกังวลของทั้ง2ฝ่ายลง

Continue reading

CPL WHAT IS EP.54: สัญลักษณ์ข้างกล่องบรรจุภัณฑ์

สัญลักษณ์ข้างกล่องบรรจุภัณฑ์ เปรียบเสมือนตัวกลางในการสื่อสาร ให้ผู้จัดส่งสินค้าเข้าใจในสิ่งที่ควรปฏิบัติต่อสินค้าแต่ละชิ้น และลดความเสียหายที่อาจเกิดจากการขนส่ง

Continue reading